ReadyPlanet.com


ผลกระทบทางสุขภาพจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า


ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับผู้นิยมสูบบุหรี่ชนิดใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า บุหรี่ไฟฟ้า หลายคนมองว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่แต่ยังไม่สามารถเลิกได้สนิท และหลายคนเชื่อว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีความปลอดภัย และลดโอกาสของการเกิดโรคมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ ในผู้ที่สูบบุหรี่ได้ ทราบหรือไม่ว่าความคิดหรือความเชื่อดังกล่าวนั้นไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร?

บุหรี่ไฟฟ้าหรือ e-cigarettes นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มอุปกรณ์สำหรับสูบสารนิโคตินหรือที่เรียกว่า electronic nicotine delivery system (ENDS) ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น แบบปากกา (e-pens), แบบไปป์ (e-pipes), ฮุกกา (e-hookah), ซิการ์ (e-cigars) หรือแม้แต่บารากุ (baraku) ทั้งหมดมีลักษณะการทำงานที่คล้ายกันคือ การปล่อยสารนิโคตินผสมผ่านออกมาพร้อมกับไอน้ำ เพื่อสูดเข้าไปสู่ทางเดินหายใจและปอด โดยมากแล้วไอน้ำที่ผลิตขึ้นมักอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ แต่ในกรณีของบารากุอาจใช้ความร้อนประเภทอื่น ๆ หรือไฟฟ้าก็ได้

การเสพติดนิโคตินจากบุหรี่ไฟฟ้า

ด้วยความที่บุหรี่ไฟฟ้านั้นแม้จะไม่ใช่บุหรี่จริง ๆ แต่ก็บรรจุสารนิโคตินซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับในบุหรี่ ดังนั้น การสูบบุหรี่ไฟฟ้าจึงไม่ใช่ และไม่ช่วย ในการเลิกสูบบุหรี่ ตรงกันข้าม ผู้บริโภคบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่จริง อาจเพิ่มปริมาณการสูบที่มากขึ้น และยิ่งทำให้ปริมาณนิโคตินที่เข้าสู่ร่างกายเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอาการเสพติดสารนิโคตินซึ่งในบางครั้งอาจมากกว่าการเสพติดนิโคตินจากบุหรี่เสียด้วย ทำให้โอกาสสำเร็จในการเลิกบุหรี่ยิ่งลดลงไปอีก นอกจากนี้จากข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ยังพบอีกด้วยว่า ผู้ที่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 76.8 ก็ยังสูบบุหรี่จริงอยู่แม้จะหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว นั่นหมายความว่าผู้สูบยังคงได้รับสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายอยู่ตลอดและอาจมากขึ้นกว่าเดิม

บุหรี่ไฟฟ้ากับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า บุหรี่นั้นมีสารก่อมะเร็ง (carcinogens) อยู่มากมายหลายชนิด ดังนั้น ผู้สูบบุหรี่อยู่จำนวนไม่น้อยจึงหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทน โดยหวังว่าจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้แต่ในบุหรี่ไฟฟ้าเองก็มีสารก่อมะเร็งบรรจุอยู่ด้วยหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารฟอร์มัลดีไฮด์ (formaldehyde) และสารป้องกันการจับแข็ง (antifreeze) ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันที่มีการออกแบบบุหรี่ไฟฟ้าให้มีหลายกลิ่นและรสชาติแตกต่างกันไปมากมายกว่า 7,000 ชนิด สารเคมีที่ผสมลงไปจึงมีหลากหลาย และอาจเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งได้อย่างมาก

การบริโภคเกินขนาดอาจทำให้เกิดพิษร้ายถึงตาย

เนื่องจากสารนิโคตินที่บรรจุอยู่ในบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นชนิดละลายในน้ำเพื่อทำเป็นไอน้ำสำหรับสูด ดังนั้น ความเข้มข้นของสารนิโคตินที่บรรจุจึงค่อนข้างมาก และหากมีการรับประทานน้ำยานี้โดยบังเอิญหรืออุบัติเหตุ อาจทำให้ร่างกายได้รับสารนิโคตินเกินขนาด และเกิดพิษเช่น คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง อาการชัก หรือกดการหายใจจนเสียชีวิตได้ ดังที่เคยมีรายงานการเกิดพิษจากสารนิโคตินนี้ขึ้นหลายครั้งในสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในครอบครัวที่มีเด็ก และเด็กเผลอรับประทานน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าเข้าไป

ในปัจจุบันข้อมูลทางการแพทย์ล่าสุดที่ออกมายังไม่สนับสนุนความคิดที่จะนำเอาบุหรี่ไฟฟ้ามาใช้เพื่อการรักษาอาการติดบุหรี่ และยังแนะนำว่าไม่ควรนำเอาบุหรี่ไฟฟ้าทุกประเภทมาใช้จนกว่าจะได้มีการศึกษารวบรวมข้อมูล และควบคุมส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะนำมาใส่ไว้ในบุหรี่ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยเสียก่อน

 



ผู้ตั้งกระทู้ สงกรานต์ :: วันที่ลงประกาศ 2020-07-12 09:42:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4200968)

 ผลกระทบทางสุขภาพจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับผู้นิยมสูบบุหรี่ชนิดใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า บุหรี่ไฟฟ้า หลายคนมองว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่แต่ยังไม่สามารถเลิกได้สนิท และหลายคนเชื่อว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีความปลอดภัย และลดโอกาสของการเกิดโรคมะเร็งหรือโรคอื่น ๆ ในผู้ที่สูบบุหรี่ได้ ทราบหรือไม่ว่าความคิดหรือความเชื่อดังกล่าวนั้นไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร?

บุหรี่ไฟฟ้าหรือ e-cigarettes นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มอุปกรณ์สำหรับสูบสารนิโคตินหรือที่เรียกว่า electronic nicotine delivery system (ENDS) ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น แบบปากกา (e-pens), แบบไปป์ (e-pipes), ฮุกกา (e-hookah), ซิการ์ (e-cigars) หรือแม้แต่บารากุ (baraku) ทั้งหมดมีลักษณะการทำงานที่คล้ายกันคือ การปล่อยสารนิโคตินผสมผ่านออกมาพร้อมกับไอน้ำ เพื่อสูดเข้าไปสู่ทางเดินหายใจและปอด โดยมากแล้วไอน้ำที่ผลิตขึ้นมักอาศัยพลังงานจากแบตเตอรี่ แต่ในกรณีของบารากุอาจใช้ความร้อนประเภทอื่น ๆ หรือไฟฟ้าก็ได้

การเสพติดนิโคตินจากบุหรี่ไฟฟ้า

ด้วยความที่บุหรี่ไฟฟ้านั้นแม้จะไม่ใช่บุหรี่จริง ๆ แต่ก็บรรจุสารนิโคตินซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับในบุหรี่ ดังนั้น การสูบบุหรี่ไฟฟ้าจึงไม่ใช่ และไม่ช่วย ในการเลิกสูบบุหรี่ ตรงกันข้าม ผู้บริโภคบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่จริง อาจเพิ่มปริมาณการสูบที่มากขึ้น และยิ่งทำให้ปริมาณนิโคตินที่เข้าสู่ร่างกายเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ทำให้ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีอาการเสพติดสารนิโคตินซึ่งในบางครั้งอาจมากกว่าการเสพติดนิโคตินจากบุหรี่เสียด้วย ทำให้โอกาสสำเร็จในการเลิกบุหรี่ยิ่งลดลงไปอีก นอกจากนี้จากข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ยังพบอีกด้วยว่า ผู้ที่หันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 76.8 ก็ยังสูบบุหรี่จริงอยู่แม้จะหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว นั่นหมายความว่าผู้สูบยังคงได้รับสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายอยู่ตลอดและอาจมากขึ้นกว่าเดิม

บุหรี่ไฟฟ้ากับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า บุหรี่นั้นมีสารก่อมะเร็ง (carcinogens) อยู่มากมายหลายชนิด ดังนั้น ผู้สูบบุหรี่อยู่จำนวนไม่น้อยจึงหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทน โดยหวังว่าจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้แต่ในบุหรี่ไฟฟ้าเองก็มีสารก่อมะเร็งบรรจุอยู่ด้วยหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารฟอร์มัลดีไฮด์ (formaldehyde) และสารป้องกันการจับแข็ง (antifreeze) ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันที่มีการออกแบบบุหรี่ไฟฟ้าให้มีหลายกลิ่นและรสชาติแตกต่างกันไปมากมายกว่า 7,000 ชนิด สารเคมีที่ผสมลงไปจึงมีหลากหลาย และอาจเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งได้อย่างมาก

การบริโภคเกินขนาดอาจทำให้เกิดพิษร้ายถึงตาย

เนื่องจากสารนิโคตินที่บรรจุอยู่ในบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นชนิดละลายในน้ำเพื่อทำเป็นไอน้ำสำหรับสูด ดังนั้น ความเข้มข้นของสารนิโคตินที่บรรจุจึงค่อนข้างมาก และหากมีการรับประทานน้ำยานี้โดยบังเอิญหรืออุบัติเหตุ อาจทำให้ร่างกายได้รับสารนิโคตินเกินขนาด และเกิดพิษเช่น คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง อาการชัก หรือกดการหายใจจนเสียชีวิตได้ ดังที่เคยมีรายงานการเกิดพิษจากสารนิโคตินนี้ขึ้นหลายครั้งในสหรัฐอเมริกา โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในครอบครัวที่มีเด็ก และเด็กเผลอรับประทานน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าเข้าไป

ในปัจจุบันข้อมูลทางการแพทย์ล่าสุดที่ออกมายังไม่สนับสนุนความคิดที่จะนำเอาบุหรี่ไฟฟ้ามาใช้เพื่อการรักษาอาการติดบุหรี่ และยังแนะนำว่าไม่ควรนำเอาบุหรี่ไฟฟ้าทุกประเภทมาใช้จนกว่าจะได้มีการศึกษารวบรวมข้อมูล และควบคุมส่วนประกอบต่าง ๆ ที่จะนำมาใส่ไว้ในบุหรี่ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัยเสียก่อน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น สงกรานต์ วันที่ตอบ 2020-07-12 10:02:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.